ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ (รอบพิเศษ)

ดูประกาศ

ทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม
ทำให้คุณเป็น Market-ready Product
และพร้อมเข้าสู่การรับรอง

ถ้าคุณคือ นักพัฒนา ผู้ประกอบการด้านหุ่นยนต์บริการ และ ผลิตภัณฑ์ IoTs ที่มีนวัตกรรมพร้อมความมุ่งมั่นเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน มีทีมพัฒนา มีเวลา และมีลูกค้ารอคุณอยู่ มากับเรา.... เรามีทุนสนับสนุน!

ทีมละ 100,000 บาท
มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท*

พร้อมด้วย

  • การอบรมเข้มข้นทั้งทางเทคโนโลยีและธุรกิจ
  • ทีมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาติดตามผล เพื่อพาคุณไปสู่ความสำเร็จ

เปิดรับสมัครทุน (รอบพิเศษ)
วันนี้-15 มีนา 2567


Proposal (Word)

ส่ง Proposal ที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยมาได้ที่
คุณจิราวรรณ: [email protected]

JumpStart: Service Robots & IoTs System Timeline
กำหนดการ
ช่วงระยะเวลา
ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัคร วันนี้ – 30 มิถุนายน 2566
คัดเลือกจากการสัมภาษณ์และพิจารณาใบสมัคร 9-10 สิงหาคม 2566 (online)
ประกาศผล 1 กันยายน 2566
กิจกรรม Kick off & BootCamp 21-22 กันยายน 2566
ติดตาม ครั้งที่ 1 (Market-ready Product) ตุลาคม 2566
เปิดรับสมัครทุน (ทุนรอบพิเศษ) วันนี้ - 15 มีนาคม 2567
ติดตาม ครั้งที่ 2 (Market-ready Product) มีนาคม 2567
ประกาศผลรอบพิเศษ 1 พฤษภาคม 2567
ติดตาม ครั้งที่ 3 (Market-ready Product) มิถุนายน 2567
ติดตาม ครั้งที่ 4 (Market-ready Product) กันยายน 2567
Demo Day กันยายน 2568

** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

Innovation Jumpstart Booklet

บทความ กิจกรรมต่าง ผลงานนวัตกรรมต้นแบบ ที่เกี่ยวกับ โครงการ Innovation Jumpstart

Course img
Innovation Jumpstart 1

AI Innovation Jumpstart Booklet รุ่นที่ 1 และกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ พร้อม 12 นวัตกรรมต้นแบบด้าน AIที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2561-2562

Booklet #1
Course img
Innovation Jumpstart 2 @BKK

ARI Innovation Jumpstart Booklet รุ่นที่ 2 @BKK และกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ พร้อม 20 นวัตกรรมต้นแบบด้าน ARI ที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2563

Booklet #2 @BKK
Course img
Innovation Jumpstart 2 @KKC

ARI Innovation Jumpstart Booklet รุ่นที่ 2 @KKC และกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ พร้อม 10 นวัตกรรมต้นแบบด้าน ARI ที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2563

Booklet #2 @KKC
Course img
Innovation Jumpstart 3

ARI Innovation Jumpstart Booklet รุ่นที่ 3 และกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ พร้อม 22 นวัตกรรมต้นแบบด้าน ARIที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2564-2565

Booklet #3

ACTIVITIES กิจกรรม

ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ AI Innovation Jumpstart

กิจกรรมในปี 2562

course image

กิจกรรมDemoday

course image

กิจกรรมDemoday

course image

กิจกรรมBoot Camp

course image

กิจกรรมBoot Camp

course image

Training

course image

Training

กิจกรรมในปี 2563

course image

กิจกรรมDemoday

course image

กิจกรรมDemoday

course image

Training

course image

Training

course image

กิจกรรมBoot Camp

course image

กิจกรรมBoot Camp

กิจกรรมในปี 2564

course image

Training
course image

Training
course image

Training
course image

PR & Recruitment

AI INNOVATION JUMPSTART ?

  • งานส่งเสริมเทคโนโลยี เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี มีภารกิจหลักคือสร้างเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้บุคคลากรในอุตสาหกรรม
    ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (Automation Robotics and Intelligent System: ARI)
    เพื่อให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรม โดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ
    และความรู้ในด้านเทคโนโลยี อีกทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

  • โครงการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ
    หรือAI Innovation JumpStart ได้ดำเนินขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับนักพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกร
    และผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง ด้านการสร้างผลงานนวัตกรรม ARI ต้นแบบ
    เพื่อใช้ได้จริงเชิงพาณิชย์ในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการต้องสร้างผลงานนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการ
    จะได้รับการอบรมทั้งด้านเทคนิคและธุรกิจที่จำเป็น สำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเชิงพาณิชย์ เช่น การอบรมการบริหารโครงการสร้างนวัตกรรม การออกแบบ Design Thinking, Lean Startup, Lean Canvas ฯลฯ อีกทั้ง รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งทางเทคนิคและธุรกิจ และการให้ทุนสนับสนุน
  • วัตถุประสงค์

    • เพื่อพัฒนานักพัฒนาเทคโนโลยี หรือ นวัตกรให้รองรับความต้องการด้านบุคคลากรตามนโยบาย EECi ที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์ซึ่งเป็น New S-Curve ของประเทศ
    • เพื่อมุ่งหวังให้นักพัฒนาเทคโนโลยี หรือ นวัตกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมโดย
      ใช้เทคโนโลยี ARI ยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 ในอนาคต
    • เพื่อพัฒนานักพัฒนาเทคโนโลยี หรือ นวัตกรให้มีทักษะในการสร้างนวัตกรรม ARI ต้นแบบ
      เพื่อใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์และสามารถเติบโตไปเป็นวิสาหกิจใหม่ได้ในอนาคต
    • เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบโดยใช้เทคโนโลยี ARI ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และสามารถขยายผลให้สามารถใช้งานได้จริงเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0
      ในอนาคต

    โครงการนี้เหมาะสำหรับ ?

    นักพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกร ผู้ประกอบการเทคโนโลยี อาจารย์ นิสิต นักศึกษา มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริงด้านการสร้างผลงานนวัตกรรม ARI ต้นแบบเพื่อใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ในอนาคต

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    • สร้างบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม ARI ตามนโยบาย EECi ของประเทศ
    • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์โดยใช้เทคโนโลยี ARI เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 ในอนาคต
    • เกิดนวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ที่สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการได้จริงในอนาคต

    • AI FOCUSING AREA อุตสาหกรรมเป้าหมาย

      • Smart Agriculture นวัตกรรม ARI เพื่อการเกษตร เช่น Precision Farming, Smart Farming, Agriculture Drone & Robot, Data Science for Agriculture, ฯลฯ
      • Smart Manufacturing นวัตกรรม ARI เพื่อการผลิตและ Logistics เช่น Industry 4.0, Warehouse management, Robotics, Smart Transportation, ฯลฯ
      • Smart Livingนวัตกรรม ARI เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น เช่น เพื่อผู้สูงอายุ ผู้ป่วย การแพทย์ การเดินทาง การท่องเที่ยว สุขภาพ ฯลฯ

    เกี่ยวกับผู้เข้าร่วม

    คุณสมบัติ

    • ผู้สมัครควรมีจำนวนสมาชิกในทีมพัฒนาผลงาน จำนวน 2- 4 คนต่อทีม โดยสมาชิกในทีมต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาชิ้นงานเทคโนโลยี ARI ได้ และมี DATA พร้อม
    • ผู้สมัครสามารถพัฒนาผลงานเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และสามารถเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณชนได้
    • ผู้สมัครมีความรับผิดชอบ ความตั้งใจ และมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมโครงการ สามารถพัฒนาผลงาน และนำเสนอผลงานตามเงื่อนไข กติกา และระยะเวลาที่กำหนดได้
    • มีผู้ซื้อ ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าที่รอจะนำนวัตกรรมไปใช้งานจริงเมื่อผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทในปีแรก (มูลค่าจากรายได้หรือการลงทุนหรือการลดต้นทุน)

    การคัดเลือก

    ผู้เข้าร่วมโครงการส่งข้อเสนอโครงการซึ่งประกอบด้วย

    • หลักการและเหตุผล, รายละเอียดนวัตกรรม, รายละเอียดเชิงเทคนิคของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และกลุ่มเป้าหมาย
    • แผนธุรกิจในรูปแบบย่อ เช่น Business Canvas หรือ Lean Canvas แผนการดำเนินงาน งบประมาณ รายละเอียดค่าใช้จ่ายพร้อมแผนการเบิกจ่าย
    • คาดการณ์ผลกระทบ (impact)ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและวิธีการวัดผล รายละเอียดผู้รอใช้งาน ผู้ซื้อหรือลูกค้า รายละเอียดผลงานและประสบการณ์ที่ผ่านมาของสมาชิกในทีม ฯลฯ
    • สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชี สำเนาบัตรนักศึกษา (ถ้ามี)

    ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาทุนสนับสนุน โครงการ AI Innovation Jumpstart

    1. ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์โครงการ
    2. ผู้ผ่านการคัดเลือกเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการ และลงนามในข้อตกลงของโครงการ
    3. คณะกรรมการวินิจฉัยแผนงาน และเห็นชอบให้เริ่มต้นโครงการ(ในกรณี ไม่เห็นชอบ ต้องนำแผนงานกลับไปแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงเพื่อเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยต่อไป)
    4. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ออกหนังสือเริ่มต้นโครงการ(ผู้ผ่านการคัดเลือกจะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ)
    5. ผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มดำเนินงานตามแผนงานและรายงานความก้าวหน้า ตามที่โครงการนัดหมาย
    6. ผู้เข้าร่วมโครงการรายงานความก้าวหน้า และเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
    7. คณะกรรมการวินิจฉัยผลงาน และเห็นชอบให้เบิกจ่ายเงินสนับสนุน(ในกรณี ไม่เห็นชอบ ต้องนำผลงานกลับไปแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงเพื่อเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยต่อไป)
    8. ทางเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยจะดำเนินการเบิกเงินสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการ

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
    และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ



    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม



    กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
    และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ



    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ



    เขตนวัตกรรม ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก



    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ



    ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์



    เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย



    ห้องปฎิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT)



    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ



    วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่